กศน.เมืองนราธิวาส
โดย กศน.ตำบลกะลุวอ ได้ดำเนินการจัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑
ประจำภาคเรียนที่ ๑/๑๕๕๖
วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๖
ณ ค่ายกัลยานิวัฒนา ทหารราบที่ ๑๕๑ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
โดยมีนายสันติ บินอับดุรมาน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อำเภอเมืองนราธิวาส เป็นประธานในพิธีและกล่าวให้โอวาท พร้อมด้วยคณะครูตำบลกะลุวอ
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑
ประจำภาคเรียนที่ ๑/๑๕๕๖
วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๖
ณ ค่ายกัลยานิวัฒนา ทหารราบที่ ๑๕๑ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
โดยมีนายสันติ บินอับดุรมาน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อำเภอเมืองนราธิวาส เป็นประธานในพิธีและกล่าวให้โอวาท พร้อมด้วยคณะครูตำบลกะลุวอ
ณ ห้องประชุมสำนักงาน กศน.จังหวัดนราธิวาส
อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
โดยมีนายสันติ บินอับดุรมาน ผอ.กศน.อำเภอเมืองนราธิวาส
เป็นประธานในพิธีและกล่าวให้โอวาทแก่ผู้รับการปฐมนิเทศในครั้งนี้
*******************************
และในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม
๒๕๕๖
ณ กศน.ตำบลกะลุวอ ม.๗
บ้านรอตันบาตู ตำบลกะลุวอ อ.เมือง จ.นราธิวาส
โดยคณะครู กศน.ตำบลกะลุวอ
การจัดการเรียนรู้
วิธีเรียน กศน.
วิธีการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น
การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบทางไกล การเรียนรู้แบบชั้นเรียน
และการเรียนรู้แบบอื่น ๆ ทั้งหมดเรียกว่า วิธีเรียน
กศน.
วิธีเรียน กศน.ของอำเภอเมืองนราธิวาส จะเน้นการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนมาพบกันโดยมีครูเป็นผู้ดำเนินการให้เกิดกระบวนการกลุ่ม
เพื่อให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาข้อสรุปร่วมกัน
โครงสร้างหลักสูตรฯ
* ระยะเวลาการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรฯ ใช้เวลา 2 ปี หรือ 4ภาคเรียน
* จำนวนหน่วยกิตการเรียน1 หน่วยกิต เท่ากับ 40ชั่วโมง
* ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละ 14 หน่วยกิต
* ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละ 17 หน่วยกิต
* ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละ 23 หน่วยกิต
หมายเหตุ การลงทะเบียนเรียนสามารถลงทะเบียนเรียนได้ในเดือนเมษายน และตุลาคม ของปี
คะแนนระหว่างภาคเรียนต่อปลายภาคเรียน
เป็นไปตามที่สำนักงาน กศน.กำหนด คือ 60 : 40
กรอบการวัดและประเมินผล
1. การวัดและเมินผลการเรียนรู้รายวิชา
· การประเมินก่อนเรียน
การวัดและประเมินผลก่อนเรียน เป็นการตรวจสอบความรู้ ทักษะและความพร้อมต่าง ๆ
ของผู้เรียนเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพความพร้อมและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน โดย
-
การสัมภาษณ์ สอบถาม
-
การทดสอบ
-
ผลการศึกษาที่ผ่านมา
-
ฯลฯ
· การวัดผลระหว่างเรียน
สถานศึกษาดำเนินการประเมินผลระหว่างภาคเรียนเพื่อทราบความก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ
และพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและผลงาน
อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
รายละเอียดของคะแนนระหว่างภาค ประกอบด้วย
- การทำรายงาน
- การทำแบบฝึกหัด
- แฟ้มสะสมงาน
- การทดสอบย่อย
- การร่วมกิจกรรม
-
ฯลฯ
· การวัดผลปลายภาคเรียน
-
แบบทดสอบ
2. การประเมินคุณธรรม
เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้เรียนทุกคนต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
จึงจะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา โดยคณะกรรมการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาพิจารณาคุณธรรมเบื้องต้น ที่สำนักงาน กศน. กำหนด ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้
โดยเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการประเมินคุณธรรม
กรอบของคุณธรรม เบื้องต้นที่สำนักงาน กศน.
กำหนดเพื่อใช้เป็นหลักในการประเมิน มีจำนวน 9 คุณธรรม
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 คุณธรรมเพื่อการพัฒนาตนเอง
- สะอาด , สุภาพ , กตัญญูกตเวที
กลุ่มที่ 2 คุณธรรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน
- ขยัน , ประหยัด , ซื่อสัตย์
กลุ่มที่ 3 คุณธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม
- สามัคคี , มีน้ำใจ ,มีวินัย
3. การประเมินกิจกรรม กพช.
การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้เรียนทุกคนจะต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
โดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
จึงจะได้รับการพิจารณาอนุมัติให้จบหลักสูตรในแต่ละระดับการศึกษา
4. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ (N-NET)
ช่วงการประเมิน : ผู้เรียนที่เรียนภาคสุดท้ายของทุกระดับการศึกษา
สาระการเรียนรู้ที่ประเมิน : สำนักงาน กศน.กำหนด
ผลการประเมิน : ไม่มีผลต่อการได้ – ตก
: นำผลไปวางแผน
ปรับปรุง ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
|
|
||||||
|
|||||||
|
|
|
|
|
|||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||||
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น